Phraya Phichai

พระยาพิชัยดาบหักตำนานนักสู้

พระยาพิชัยคือตำนานมวยไทย ท่านเป็นนักรบของกองทัพสยาม ศาสตร์มวยโบราณในการรบกับกองทัพพม่า อนุสาวรีย์นี้ถูกจัดทำเพื่อเชิดชูเกียรติของท่านไว้ให้คนรุ่นหลังได้รู้จัก

พระยาพิชัย

Phraya Phichai

เมื่อกว่า 200 ปีก่อน ยุคที่สยามประเทศเกิดศึกสงครามกับพม่าเป็นนิจนั้น ก็ได้บังเกิดฮีโร่คนหนึ่ง นั่นก็คือพระยาพิชัย นามของท่านถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ของไทย เพราะได้เปลี่ยนทิศทางของชาติผ่านการใช้มวยโบราณ อันเป็นมวยไทยรูปแบบเดิม   

ช่วงเวลานั้น สยามถูกรุกรานโดยประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่า ก่อนอยุธยาจะล่มสลายลงในปี พ.ศ. 2310 ซึ่งจากนั้นพม่าได้เบนความสนใจไปบุกราชวงศ์ชิงของประเทศจีนแทน พม่าจำเป็นต้องเดินทัพไปทางตะวันออก ระหว่างถอยทัพออกจากสยาม พระยาพิชัยจึงถือโอกาสนี้ในการกอบกู้เอกราชคืนมา 

ระหว่างที่ร่วมรบนั้น โชคชะตาก็เล่นตลกกับพระยาพิชัย ดาบสองมือของท่านเกิดร้าวและหักขึ้นมาระหว่างต่อสู้ ทำให้พระยาพิชัยไม่มีอาวุธในการต่อสู้ เหลือเพียงหมัดเข่าศอกเท่านั้นที่ยังใช้ได้ พระยาพิชัยจึงใช้ความรู้ในศาสตร์มวยโบราณเพื่อโจมตีกองทัพพม่าต่อ ด้วยการออกอาวุธที่แม่นยำ ศอกหนัก เข่าหักกระดูก ทำให้พระยาพิชัยได้ชัยชนะกลับมา จากเหตุนี้พระยาพิชัยจึงได้ฉายาว่า “พระยาพิชัยดาบหัก” นั่นเอง

ชัยชนะนี้ได้ปูทางให้สยามกอบกู้เอกราชคืนมาสำเร็จ ซึ่งจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากไม่มีความรู้ด้านมวยโบราณแสนอันตรายของพระยาพิชัย จากการสู้รบครั้งนั้นทำให้พระยาพิชัยได้รับแต่งตั้งเป็นถึงหนึ่งในสี่ทหารเสือของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

โดยปัญญา ไกรทัศน์ได้เขียนไว้ใน “ตำราพาหุยุทธ มวยไทยยอดศิลปะการต่อสู้” ว่า

ท่านเป็นนายพลที่นำกองทัพไปต้านข้าศึกอย่างกล้าหาญโดยไม่ห่วงชีวิตตัวเองเลยท่านมีความรักชาติอย่างยิ่งสู้รบจนดาบหักก่อนจะขว้างดาบทิ้งและรบสุดใจด้วยหมัดเข่าศอกเพื่อพิชิตชัย ความรู้ในวิชามวยไทยของท่านทำให้ท่านรอดชีวิตและคว้าชัยชนะมาสำเร็จ”  

อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหักมีอยู่ทั่วแผ่นดินไทย สืบสานตำนานให้แก่คนรุ่นหลัง เพราะท่านคือตำนานมวยไทยแห่งสยามประเทศอย่างแท้จริง

Phraya Phichai Dab Hak

มวยโบราณ

หากจะทำความเข้าใจพระยาพิชัยดาบหักแล้ว ต้องทำความเข้าใจมวยโบราณด้วย ปัจจุบัน มวยไทยเป็นกีฬาที่ใช้กฎกติกา ชกบทเวทีและใส่นวม แต่สมัยก่อนไม่ใช่แบบนี้ โบราณนานมา มวยไทยเป็นกีฬาการต่อสู้ที่มุ่งเน้นการออกอาวุธที่อันตรายถึงชีวิต และใช้กันทั่วไปในสนามรบ 

ก่อนมวยไทยจะเป็นกีฬาอย่างปัจจุบัน ทุกอย่างในช่วงก่อนหน้าปี พ.ศ. 2473 จะนับเป็นมวยโบราณไปหมด ซึ่งมีการเรียนการสอนศิลปะการต่อสู้นี้ที่โรงเรียนทหารสำหรับการต่อสู้ที่ไร้อาวุธ โดยมีรูปแบบการต่อสู้บ้างอย่างที่มุ่งเน้นโจมตีคู่ต่อสู้ที่มีอาวุธ  

ประวัติศาสตร์มวยไทยมีมวยโบราณหลากหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบมีเทคนิคและมรดกสืบทอดอันเป็นเอกลักษณ์ เช่น มวยลพบุรี มวยโคราช มวยไชยา รวมถึงอาวุธที่เรียกกันว่ากระบี่กระบอง และการต่อสู้สำหรับราชอารักขาเรียกว่า มวยหลวง ชื่อรูปแบบมวยเหล่านี้ส่วนมากมาจากแหล่งต้นกำเนิด โดยมีการเน้นรูปแบบการต่อสู้แตกต่างกันออกไป 

สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมวยไทยเข้ามาใช้ในกองทัพสนามในปี พ.ศ. 2103 เกิดเป็นเหตุการณ์สำคัญของประวัติศาสตร์มวยไทย จากนั้นนายทหารทุกนายในประเทศไทยจะต้องเรียนมวยโบราณด้วย กระทั่งปัจจุบัน 

มวยโบราณมีทั้งความคล้ายคลึงและแตกต่างจากมวยไทยยุคปัจจุบันอยู่มาก มวยโบราณเน้นที่เทคนิคที่ทำให้ศัตรูเสียชีวิตหรือพิการ แถมยังมีการใช้เป็นการกีฬานอกกรมทหารด้วย ส่วนใหญ่จะเป็นการชกมือเปล่า หรือใช้เชือกป่านพันปกป้องข้อนิ้ว หรือกระทั่งมีการใช้ท่าซับมิชชันด้วย สมัยก่อนมักมีการจัดชกมวยโบราณตามงานวัด แต่ต้นกำเนิดของมันที่แท้จริงคือทหารที่นำไปใช้ในการต่อสู้จริง 

Phraya Phichai Dap Hak in Wat Khung Taphao

Final Thoughts

พระยาพิชัยดาบหักเป็นบุคคลสำคัญอย่างยิ่ง และยังเป็นวีรบุรุษแห่งตำนานมวยไทยและชาติไทย ก่อนมวยโบราณแปรเปลี่ยนมาเป็นมวยไทยในยุคปัจจุบันนั้น ท่านได้ใช้ความเชี่ยวชาญในศาสตร์แห่งมวยโบราณในการอุทิศตนแก่ประเทศชาติ และเปลี่ยนทิศทางประวัติศาสตร์ไทย นอกจากชัยชนะของท่านจะทำให้ท่านได้ฉายาว่าพระยาพิชัยดาบหักแล้ว ชัยชนะยังช่วยปูทางให้สยามในตอนนั้นได้รับเอกราชคืนมาอีกด้วย 

อนุสรณ์ของพระยาพิชัยได้ตั้งตระหง่านทั่วไทย แสดงถึงวีรบุรุษแห่งชาติบ้านเมือง ตำนานของท่านยังคงดังก้องในประวัติศาสตร์ แสดงถึงพลังแห่งมวยโบราณและศิลปะแห่งหมัดเข่าศอก มวยไทยในปัจจุบันอาจเป็นกีฬาที่ต่างจากเดิม แต่มวยโบราณยังพาเรากลับไปยังยุคสมัยที่ศิลปะการป้องกันตัวถูกนำไปใช้ในสนามรบจริง ทั้งตำนานพระยาพิชัยและเรื่องราวของมวยโบราณจึงล้วนเป็นเครื่องพิสูจน์พลังแห่งศิลปะการต่อสู้อย่างแท้จริง