Muay Boran

ต้นกำเนิดมวยโบราณ

Translated By : Siwadee Akkaraphot

ก่อนจะเป็นกีฬามวยไทยที่เราเห็นกันทั่วโลกในทุกวันนี้ ก่อนจะมีแบรนด์กีฬาชื่อดังอย่างแฟร์เท็กซ์และหยกขาว ก่อนที่แชมป์อย่างแสนชัย พี.เค. แสนชัย, นกหวีด เดวี่แล ะนำศักดิ์น้อย ยุทธการกำธร โลกนี้เคยมีมวยโบราณหรือมวยคาดเชือกมาก่อน

มวยคาดเชือกคือมวยโบราณ เป็นคำที่มีนิยามกว้างๆใช้อธิบายลักษณะของศิลปะป้องกันตัวของประเทศไทยและนับเป็นต้นกำเนิดของมวยไทยในยุคปัจจุบัน มวยคาดเชือกเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมไทยมาหลายชั่วอายุคน ด้วยความที่เป็นกีฬาการต่อสู้ที่รุนแรง พร้อมด้วยลูกเตะลูกต่อยลูกชก การปล้ำ เทคนิคการยึดจับ ทำให้ศิลปะการต่อสู้ชนิดนี้เป็นที่นิยมสูงก่อนมีการยกเครื่องกติกามวยใหม่ในยุค 1930s วันสืบเนื่องมาจากการต่อสู้ระหว่างนายแพ เลี้ยงประเสริฐและนักชกชาวเขมรชื่อดัง ซึ่งผลการต่อสู้ในครั้งนั้นทำให้นักชกฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต

ก่อนมีการยกเครื่องเปลี่ยนกติกาครั้งใหญ่นั้นมวยคาดเชือกเคยถูกจัดขึ้นในลักษณะของมวยภูธร และเป็นที่รู้กันดีว่าเป็นการต่อสู้ที่รุนแรงและอันตราย เพื่อรักษาความนิยมของกีฬาชนิดนี้ แล้วเพื่อดึงดูดผู้ชมไปพร้อมกับลดความเสี่ยงการเสียชีวิตตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หน่วยงานผู้รับผิดชอบด้านกีฬาจึงตัดสินใจเพิ่มและเปลี่ยนกฎกติกามากมายเพื่อความปลอดภัยของนักชกและเพื่อให้ผู้คนเข้าถึงมวยคาดเชือกได้ง่ายขึ้น นำมาสู่การใช้นวมในการชกเพื่อลดลดความรุนแรงของบาดแผลแล้วการบาดเจ็บ ซึ่งกติกาข้อนี้ยังใช้กันมาถึงปัจจุบัน

นอกจากการเปลี่ยนแปลงกฎกติกาแล้ว ยังมีระบบการนับคะแนนเพื่อให้เป็นมาตรฐานมากขึ้น โดยกรรมการจะให้คะแนนนักชกจากข้อกำหนดหลายอย่างเช่น เมื่อนักชกสามารถชกคู่ต่อสู้ได้ เมื่อมีการปล้ำที่มีประสิทธิภาพและการมีชั้นเชิงที่เหนือกว่าในภาพรวม การเปลี่ยนแปลงที่กล่าวมานี้ได้เปลี่ยนกีฬามวยไทยและช่วยให้มวยไทยเป็นที่รู้จักมากขึ้นในฐานะกีฬาที่มีระบบการจัดการที่ดีและเป็นรูปธรรม

การเปลี่ยนแปลงกฎกติกาในยุค 1930 นี้คือจุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์ทำให้มวยไทยเป็นที่นิยมมากขึ้น เปลี่ยนภาพลักษณ์ให้มวยไทยเป็นการต่อสู้ที่มีคุณค่า น่าชื่นชม และยังเป็นการปูรากฐานให้การเติบโตและความสำเร็จของมวยไทยในหลายทศวรรษหลังจากนั้น

วัฒนธรรมของไทยและมวยไทยมีสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยาวนาน ผู้ที่มีความสนใจในมวยไทยอาจพยายามเรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์และพบว่าศิลปะป้องกันตัวแขนงต่างๆจะมีความคล้ายคลึงกับมวยไทยหลายอย่าง แต่ก็ยังมีข้อต่างที่แยกย่อยออกไปจากกีฬาของไทยชนิดนี้

หากคุณเป็นแฟนมวยคงเคยได้ยินคำว่ามวยคาดเชือกหรือมวยโบราณมาบ้าง ซึ่งหมายถึงวิธีการต่อสู้แบบไม่ติดอาวุธที่มีมาแต่โบราณที่คนไทยได้ทำการคิดค้นขึ้น โดยรวมถึงระบบการต่อสู้ที่ใช้แม่ไม้แบบไทยโบราณ มวยโบราณรวมถึงวิธีการต่อสู้ที่เคยมีการใช้มาก่อนจะเกิดการเรียบเรียงโครงสร้างการต่อสู้ใหม่ทั้งหมดให้กลายเป็นกีฬาการต่อสู้มวยไทยแบบร่วมสมัย

มวยคาดเชือกมีรากกำเนิดจากสงครามของไทยในยุคโบราณ ผู้ทำการต่อสู้แบบมวยคาดเชือกคือทหารไทยพี่ใช้สู้รบกับศัตรูตามสถานการณ์ต่างๆมาหลายชั่วอายุคน กีฬาชนิดนี้มีการพัฒนาเรื่อยมาและกลายเป็นศิลปะความบันเทิงที่ทั้งทหารและประชาชนสามารถนำมาแข่งขันกันเพื่อดูว่าใครเป็นนักสู้ที่แข็งแรงและมีทักษะดีที่สุด

กีฬาชนิดนี้เคยถูกใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างความแข็งแกร่งความว่องไวและทักษะการต่อสู้แก่ทหาร โดยอาศัยการเตรียมตัวที่เข้มงวด จากประวัติศาสตร์แล้วมวยโบราณยังถูกใช้เพื่อการป้องกันตัวและเคลียร์ปัญหาข้อพิพาทระหว่างบุคคล มวยโบราณค่อยๆได้รับการนับถือในฐานะศิลปะการป้องกันตัวและมักมีส่วนเกี่ยวพันกับความกล้าหาญและเกียรติยศ เทคนิคที่ใช้ในมวยคาดเชือกเป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพสูง สไตล์เราการชกได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วทั่วประเทศไทย

ศิลปะการป้องกันตัวของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แขนงอื่นเช่น ละเว่ย์ ซึ่งเป็นศิลปะการป้องกันตัวของประเทศเมียนมาก็มีความคล้ายคลึงหลายอย่างกับมวยคาดเชือกโดยเฉพาะการใช้เชือกพันกำปั้น การใช้หมัด เข่า ศอก ลูกเตะ ลูกต่อยที่นักมวยไทยใช้ แต่ละเว่ย์ยังมีการเอาหัวโขกด้วย

นักชกมวยคาดเชือกไม่มีนวมป้องกันกำปั้น จึงใช้เชือกกัญชงพันรอบกำปั้นแทน และยังมีวัสดุอื่นๆ ที่ใช้เชือกกัญชงด้วย แต่ในยุคหลังมานี้เป็นการใช้หวายและผ้าแทน

มวยคาดเชือกในยุคปัจจุบันมีข้อกำหนดมากกว่าในอดีตเล็กน้อย จากที่เคยเป็นกีฬาเพื่อการแข่งขันที่ใช้ความรุนแรงเป็นหลัก ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นการชกเพื่อความบันเทิง คล้ายกับศิลปะการป้องกันตัวโบราณอย่างกังฟูของจีนและคาราเต้นั่นเอง ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดได้แก่แชมป์มวยไทยอย่างบัวขาวบัญชาเมฆที่นักแสดงถึงความรักและเทิดทูนที่มีต่อมวยคาดเชือก ประวัติศาสตร์มวยและวัฒนธรรมไทย

การถือกำเนิดของมวยคาดเชือก

ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนที่สามารถพิสูจน์ได้ถึงต้นกำเนิดมวยคาดเชือก แต่หลายคนเห็นด้วยว่าต้นกำเนิดมวยคาดเชือกสามารถย้อนไปได้ถึงยุคสุโขทัยในคริสตศตวรรษที่ 13 เป็นช่วงที่อาณาจักรสุโขทัยกำลังมีสงครามกับอาณาจักรเพื่อนบ้านและต้องการรูปแบบการต่อสู้ที่สามารถให้นักรบและทหารได้เปรียบในการต่อสู้ ทหารสุโขทัยถูกฝึกให้ต่อสู้ในระยะประชิดโดยใช้หมัดเข่าศอกเป็นอาวุธจนเป็นที่รู้จักกันในชื่อมวยโบราณ ทำให้ทหารมีข้อได้เปรียบคู่ต่อสู้ที่มักได้รับการฝึกด้วยเทคนิคการต่อสู้แบบใช้มือชกเท่านั้น

ในช่วงสงครามระหว่างสยามและพม่าดุเดือดระหว่างปี พ.ศ. 2307-2310 ทำให้บันทึกประวัติศาสตร์มวยคาดเชือกสูญหายไป แต่ในช่วงระยะเวลาแห่งความขัดแย้งนี้ก็ได้มีพระบิดาแห่งมวยไทยบังเกิดขึ้นในนามที่ชาวไทยคุ้นหูกันนั่นก็คือนายขนมต้ม

ในยุคของกษัตริย์มังระของพม่าในปี พ.ศ. 2317 ได้จัดการแข่งขันการต่อสู้ระหว่างนักมวยชาวไทยและนักชกละเว่ย์ของทางพม่า ว่ากันว่าระหว่างการแข่งขันนี้นายขนมต้มได้เอาชนะนักชกละเว่ย์อย่างน้อย 10 ราย ช่วงก่อนอยุธยาล่มสลาย ด้วยทักษะและความกล้าหาญนี้ทำให้พญามังระกษัตริย์พม่าประกาศว่า “ทุกส่วนในร่างกายของชาวสยามผู้นี้เต็มไปด้วยพิษ สามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ด้วยมือเปล่าถึง 30 คน” ก่อนที่พญามังระจะปล่อยนายขนมต้มกลับสู่บ้านเกิด พ้นสถานะเชลยเพื่อถ่ายทอดวิชามวยโบราณของไทยต่อไป

ว่ากันว่าศิลปะมวยคาดเชือกหรือมวยโบราณของไทยนี้เผยแพร่อย่างรวดเร็วจากเรื่องราวของนายขนมต้ม โดยพัฒนาเทคนิคและอาวุธให้หลากหลายขึ้นในช่วงนั้น รวมถึงนำทักษะมวยมาผสมผสานกับอาวุธอื่นๆ อย่างดาบและกระบองอีกด้วย

มวยคาดเชือกกลายเป็นกีฬาที่คนนิยมดูทั่วประเทศไทยอย่างรวดเร็ว มีการจัดเวทีชกในกลุ่มผู้ชมขนาดใหญ่ซึ่งทำให้การรับชมฝึกการต่อสู้ในสนามมวยยังเป็นที่นิยมอย่างมากในยุคปัจจุบัน การต่อสู้ด้วยศิลปะป้องกันตัวที่ไม่ติดอาวุธนี้มักใช้เครื่องดนตรีไทยเล่นประกอบ โดยก่อนขึ้นชกจะมีการไหว้ครูและรำมวยเพื่อแสดงความเคารพต่อครูฝึกและค่ายมวย ทั้งหมดที่กล่าวมายังสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในการชกมวยไทยทุกวันนี้

ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 มวยไทยได้รับการยกระดับให้เป็นกีฬาอย่างเป็นทางการ โดยมีรัฐบาลไทยเป็นผู้สนับสนุนดูแล ก่อให้เกิดการพัฒนากฎกติกาการต่อสู้ซึ่งช่วยปรับเทคนิคและกลยุทธ์ต่างๆที่ใช้ในกีฬาชนิดนี้ เมื่อมีระบบระเบียบมากขึ้นก็มีค่ายมวยแบบมืออาชีพมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงทัวร์นาเมนต์ระหว่างประเทศด้วย

ในช่วงต่อมา ต้นศตวรรษที่ 20 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้ทรงจำแนกศิลปะมวยคาดเชือกจากที่มาและสไตล์การชกที่ต่างกัน ได้แก่มวยลพบุรี มวยโคราช และมวยไชยา ซึ่งเป็นมวยของทางภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคใต้ตามลำดับ หลังจากนั้น มีการค้นพบการต่อสู้ในรูปแบบมวยสไตล์อื่น นั่นก็คือมวยท่าเสาจากทางเหนือ

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก็คือการเริ่มใช้นวมและอุปกรณ์การป้องกันอื่นๆ รวมถึงกฎกติกาที่เป็นมาตรฐาน แต่ผิดจากเทคนิคการชกของมวยคาดเชือก เพื่อลดความเสี่ยงการบาดเจ็บและการเสียชีวิต เทคนิคหลายอย่างถูกแทนที่ด้วยอุปกรณ์การป้องกันการบาดเจ็บ ช่วยให้นักชกมีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยมากขึ้น ควบคุมได้มากขึ้น และพิสูจน์ได้ว่าเป็นที่นิยมมากขึ้น จนกลายเป็นมวยไทยที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน มวยไทยที่เป็นศิลปะการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในโลก

กีฬามวยยังคงเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ถูกใจคนหลายล้านคนทั่วโลก และเป็นกีฬาประเภทการต่อสู้หลักที่มีประวัติศาสตร์และที่มาผูกพันอย่างแน่นแฟ้นกับวัฒนธรรมไทย แม้จะมีการพัฒนาปรับปรุงให้เป็นกีฬาที่มีมาตรฐานและปลอดภัยขึ้น แต่หลักการและเทคนิคของมวยคาดเชือกก็ยังมีให้เห็นในกีฬามวยไทยยุคปัจจุบันรวมถึงการฝึกซ้อม และพิธีการอย่างการไหว้ครู

มวยคาดเชือกและมวยไทย

หากจะมองง่ายๆก็คือมวยไทยนั้นพัฒนาเทคนิคหลายอย่างมาจากมวยคาดเชือกโดยมีกฎกติกาในยุคปัจจุบันที่กษัตริย์ไทยในอดีตได้ทรงประกาศใช้เมื่อราว 100 ปีที่แล้ว

ทั้งมวยคาดเชือกและมวยไทยต่างเป็นศิลปะการป้องกันตัวที่ประชิดตัวคู่ต่อสู้และมีความคล้ายคลึงกันหลายอย่าง เช่นการเน้นเทคนิคออกอาวุธ การยืนปล้ำ มีการใช้อาวุธทั้งหมัด เข่า ศอกเตะครบเครื่อง จุดประสงค์ของมวยคาดเชือกคือออกอาวุธให้คู่ต่อสู้น็อคเอาท์หรือเรียกได้ว่าเอาให้อีกฝ่ายสู้ไม่ไหว แต่มวยไทยได้เพิ่มแนวคิดสมัยใหม่ด้วยการนับคะแนนและการตัดสินจากความคิดเห็นของกรรมการ

นอกจากนี้มวยคาดเชือกยังเป็นกีฬาที่มีความเก่าแก่กว่าและมีเทคนิคที่หลากหลายกว่าโดยสามารถใช้ร่วมกับอาวุธอื่นเช่นดาบและกระบอง ส่วนมวยไทยเป็นกีฬาที่มีความสมัยใหม่มากกว่าโดยเน้นที่การออกอาวุธมือเปล่านั่นเอง

โดยพื้นฐานแล้วการต่อสู้ทั้ง 2 แบบมีความคล้ายคลึงกันมากมายทั้งในแง่ของการนำเสนอและการปรับใช้

  • ทั้งมวยคาดเชือกและมวยไทยมีหลักการการฝึกซ้อมที่คล้ายกันโดยจะเน้นที่การฝึกซ้อมร่างกาย การชกลม ฝึกซ้อมกับกระสอบทราย เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้เทคนิคต่างๆ
  • ก่อนขึ้นชกมีการไหว้ครูและรำมวยเพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อครูฝึก และเพื่อความเป็นสิริมงคล
  • การต่อสู้ทั้ง 2 แบบมีรูปแบบการออกอาวุธที่คล้ายกัน ทั้งการแย็บ การฮุก และท่าเตะหลายอย่างเช่น เตะแข้ง ลูกถีบ ตีเข่าและตีศอก โดยเน้นการใช้อวัยวะทุกส่วนในการจู่โจมและป้องกันตัว
  • การต่อสู้ทั้งสองแบบมีการใช้รูปปล้ำแบบมวยไทยเพื่อใช้จำกัดความเคลื่อนไหวของคู่ต่อสู้และจู่โจมในระยะประชิด
  • การต่อสู้ทั้ง 2 แบบมีการกวาดให้คู่ต่อสู้ล้มรวมถึงการเจาะยาง ซึ่งในมวยไทยจะทำให้ได้คะแนนสูงมาก

แม้ศิลปะการต่อสู้ทั้งสองจะมีหลักการที่คล้ายคลึงกัน แต่มวยโบราณยังใช้ศีรษะเป็นอาวุธด้วย เพราะว่ารากฐานของมวยโบราณคือออกอาวุธในสนามรบไม่ใช่ในสนามมวยนั่นเอง ที่มาและการใช้งานเช่นนี้ทำให้มวยโบราณมีกฎกติกาน้อยมาก โดยอนุญาตให้นักชกใช้หัวโขก จู่โจมใต้เข็มขัด คอ และพื้นที่อื่นๆที่มวยไทยไม่อนุญาต นอกจากนี้สไตล์การชกยังมีความแตกต่างกันอีกพอสมควรดังนี้

  • มวยโบราณ รักษาฐานกว้าง ใช้จุดศูนย์ถ่วงที่ต่ำกว่าเพื่อเป็นการป้องกันบริเวณขาหนีบ นักชกมวยไทยจะมีการป้องกันตัวที่น้อยกว่ามวยโบราณ และใช้กำปั้นป้องกันศีรษะทั้งสองด้าน นวมที่ใหญ่ทำให้มีพื้นที่ในการปิดบังป้องกันใบหน้ามากขึ้น 
  • รูปแบบการต่อสู้ของมวยโบราณรัดกุมกว่า ทำให้นักชกสามารถหลบการโจมตีของคู่ต่อสู้ได้ไวกว่ามาก แต่การป้องกันจะด้อยกว่าทำให้นักชกเปลี่ยนการป้องกันตัวเป็นโอกาสในใช้เทคนิคการปล้ำ
  • การต่อสู้แบบมวยไทยจะเน้นที่การทำคะแนน ด้วยการจู่โจมที่ร่างกายและศีรษะ แต่มวยโบราณเน้นการจู่โจมคู่ต่อสู้ตามแขนขา
  • มวยโบราณมีท่าทางการจู่โจมที่เรียกได้ว่าตระการตากว่าเช่นเข่าลอยและการใช้ศอกฟันหน้าทำให้คู่ต่อสู้สามารถร่วงลงไปกองได้อย่างรวดเร็ว มวยโบราณใช้เทคนิคเหวี่ยงแขนขาที่ใช้พื้นที่มากกว่าเพื่อให้มีแรงและพละกำลังมากขึ้น ถึงแม้เทคนิคเช่นนี้จะเป็นการเสียพลังงานเปล่าในมวยไทยที่มีเวลาจำกัดแต่จุดประสงค์ของมวยโบราณก็คือเอาชนะคู่ต่อสู้ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่ากระบวนท่าในกีฬามวยไทยยังไม่โดดเด่นเท่ามวยโบราณ
  • การฝึกและทฤษฎีการใช้อาวุธในมวยโบราณแตกต่างจากกฎกติกามวยไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากนักสู้มวยโบราณจะต้องฝึกใช้อาวุธไปพร้อมกับกระบวนท่าการต่อสู้ ทั้งดาบ กระบองและมีด โดยผสานการต่อสู้ด้วยมือเปล่ากับอาวุธต่างๆเป็นศิลปะการต่อสู้โดยมีเป้าหมายให้นักสู้ได้ประโยชน์และชั้นเชิงเหนือกว่าในยามรบกับข้าศึก เพราะนอกจากจะมีการสอนใช้อาวุธแล้ว ยังมีแม่ไม้ในการปลดอาวุธของคู่ต่อสู้ และชิงอาวุธนั้นมาอยู่ในมือเพื่อที่จะกำจัดคู่ต่อสู้เองด้วย ซึ่งในมวยโบราณนี้การใช้อาวุธแต่ละชนิดก็มีเทคนิคและกระบวนท่าที่ต่างกันไป
  • มวยไทยได้ถูกพัฒนาขึ้นเป็นกีฬา มุ่งเน้นที่การแข่งขัน กฎกติกา ในระบบการจัดอันดับทั้งระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับโลก ส่วนมวยโบราณหรือมวยคาดเชือก เป็นการฝึกฝนเพื่อใช้ในการป้องกันตัว และยังมีความหมายที่ลึกซึ้งกว่านั้นก็คืออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของไทย
  • นอกจากนายขนมต้มที่ได้รับฉายาว่าเป็นบิดาแห่งมวยไทยแล้ว นักชกมวยโบราณตามประวัติศาสตร์ที่ทุ่มเทให้กับการพัฒนาศิลปะการต่อสู้โบราณนี้มีดังนี้
  • พระเจ้าเสือ นักสู้มวยโบราณที่เคยมีชีวิตอยู่ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นที่เรื่องลือมากเรื่องความแข็งแกร่ง พละกำลังและทักษะการต่อสู้   และยังเป็นนักชกมวยโบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์
  • ขุนแผน ตำนานนักสู้มวยโบราณที่ขึ้นชื่อว่ามีทักษะการต่อสู้แพรวพราวมากที่สุดคนหนึ่ง มีความว่องไว ความคล่องตัว และพละกำลังเป็นเลิศ  ว่ากันว่าเป็นนักรบที่ไม่มีใครโค่นลง 

อีกครั้งมวยโบราณและมวยไทยมีความคล้ายคลึงกันหลายอย่างรวมถึงลักษณะโดยรวมและเทคนิคที่ใช้ โดยข้อแตกต่างหลักๆก็คือมวยโบราณนั้นมีต้นกำเนิดที่เก่าแก่กว่าและมีการใช้เทคนิคที่หลากหลายกว่า เช่นการใช้ร่วมกับอาวุธอย่าง ไม้กระบองและดาบ ส่วนมวยไทยนั้นนับว่ามีความเป็นสมัยใหม่มากกว่าและเน้นที่การออกอาวุธ

นอกจากจะมีความสำคัญต่อสยามประเทศและวิธีการใช้ที่มีมาอย่างยาวนาน มวยโบราณยังเป็นกีฬาที่เป็นที่รู้จักทั่วโลกอีกด้วย อย่างไรก็ตามในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ มวยได้เป็นที่รู้จักในสังคมโลกตะวันตก ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักมากขึ้นอย่างช้าๆ ปัจจุบันมีค่ายมวยโบราณและสถานฝึกซ้อมมวยโบราณหลายแห่งในหลายประเทศ ทั้งในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร

ปัจจุบันมีการสอนมวยโบราณให้กับผู้คนทุกเพศทุกวัย และทุกระดับ โดยกีฬาชนิดนี้นับเป็นเครื่องมืออันมีค่าสำหรับการพัฒนาตนเอง ความแข็งแรงของร่างกาย และการป้องกันตัว แม้จะไม่ได้ชื่อดังเท่ามวยไทยก็ตาม

ช่วงหลายปีให้หลังมานี้ มีการถ่ายทอดมวยไทยทั่วโลกผ่านแฟรนไชส์ธุรกิจอย่าง One Championship รวมถึงการชมการแข่งขันกันสดๆ ในสนามมวยฟอร์มยักษ์ทั่วไทย แต่ถึงอย่างไร แก่นแท้ของมวยไทยก็คือศิลปะการต่อสู้ยุคใหม่ที่ปรับมาจากการต่อสู้จริงในสนามรบของทางเอเชียอาคเนย์

หากไม่มีมวยโบราณและความสำคัญทางประวัติและวัฒนธรรม ก็คงไม่มีมวยไทยอย่างที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน ที่แม่ไม้การต่อสู้จนถึงขนบธรรมเนียมที่งดงามของมวยทั้งสองประเภทยังสะท้อนก้องกังวานอยู่ในวัฒนธรรมไทย

จิตวิญญาณของมวยโบราณยังสืบสานต่อมาถึงมวยไทยรุ่นใหม่ และยังช่วยสร้างตำนานนักชกที่ตามรอยนายขนมต้ม บิดาแห่งมวยไทย ที่ยังคงมีการรำลึกถึงเป็นประจำทุกปีในวันไหว้ครูมวยไทย ซึ่งเป็นวันที่นักชกมวยไทยแสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษของตน รวมถึงรำลึกถึงพระคุณครูบาอาจารย์ที่ได้ให้วิชาแก่ตน

ตำนานมวยโบราณหรือมวยคาดเชือกของนายขนมต้มโด่งดังไกลกว่าชายแดนประเทศไทย เนื่องจากนักชกศิลปะป้องกันตัวได้มีการนำเทคนิคและคำสอนของนายขนมต้มไปใช้ทั่วโลก นอกจากได้รับการสรรเสริญให้เป็นปรมาจารย์ด้านนี้แล้ว ตำนานนายขนมต้มยังสร้างแรงบันดาลใจให้นักชกรุ่นใหม่อยู่เสมอ เรื่องราวของนายขนมต้มเป็นที่ประจักษ์ชัดถึงพลังและความงามของศิลปะการต่อสู้ของมวยโบราณ ฝีมือความหาญกล้ายังส่งเสียงกังวานอยู่ในการปะทะทุกหมัด เข่า ศอก ทั้งในสังเวียน สนามมวย และกีฬามวยไทย

Similar Posts